ไลฟทูน คีเลต แมกนีเซียม 100มก. 60เม็ด



ไลฟทูน ซีวีดแคลเซียมพลัส มิเนอรัล 1,000มก. 45แคปซูล



ไลฟทูน คีเลต ซิงค์ 15มก. 90เม็ด



ไลฟทูน คีเลต โครเมี่ยม 100มก. 90เม็ด



ไลฟทูน น้ำมันปลาไร้กลิ่น 1,000มก 45แคปซูล



ไลฟทูน กรีนลิฟท์มัสเซิล+ฟิชออยล์ 1,000มก. 45แคปซูล

“กระดูกพรุน” มฤตยูเงียบ รักษาไม่หายขาด แต่ป้องกันได้ด้วย "แคลเซียม"

รศ.พญ.วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดเผยการประชุมวิชาการในหัวข้อ Calcium Today :  Less is More จัดโดย บริษัท อังกฤษตรางู (แอล.พี.) จำกัด เพื่อถ่ายทอดข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ “แคลเซียม" กับการป้องกันโรคกระดูกพรุน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ผู้หญิงช่วงอายุ 60 ถึง 70 ปี สุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนถึง 1 ใน 3 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 ใน 3 หากมีอายุมากกว่า 80 ปี ปัจจุบันมีผู้หญิงมากกว่า 200 ล้านคนทั่วโลกที่ทุกข์ทรมานจากโรคนี้ ที่น่ากลัวไปกว่านั้นคือ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส หรือญี่ปุ่น ผู้หญิงที่เป็นโรคนี้มีน้อยกว่าครึ่งที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา ซึ่งทำได้โดยการผ่าตัด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และมีโอกาสเสียชีวิตได้ในขณะผ่าตัด หากเกิดอาการแทรกซ้อน ขณะที่ผู้หญิงในเอเชีย จะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมากเช่นกัน

“ที่น่ากลัวมากที่สุด" คือ กระดูกพรุนมักตรวจพบหลังจากคนไข้มีอาการกระดูกหักมาแล้ว การตรวจจะทำได้โดยเครื่องมือวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกเพียงกรณีเดียวเท่านั้น เครื่องเอ็กซเรย์ธรรมดาทั่วไป ไม่สามารถวัดหาปริมาณความหนาแน่นของมวลกระดูกได้ และถ้าพบลักษณะกระดูกพรุนจากการเอ็กซเรย์กระดูก ต้องรู้ว่าในขณะนั้นกระดูกได้พรุนไปแล้วหนึ่งส่วนสามของกระดูกปกติ เพราะการตรวจวัดหาความหนาแน่นของมวลกระดูกในช่วงก่อนอายุ 65ปี จะไม่แสดงปริมาณความหนาแน่นของมวลกระดูกที่แท้จริง จึงเรียกโรคนี้ว่า มฤตยูเงียบ” รศ.พญ.วิไล กล่าว

เมื่อพบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนจนถึงขั้นกระดูกหักแล้ว คนไข้จะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา จึงมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงต่างๆตามมาอีกมาก อาทิ โรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจ แผลกดทับ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อตามรอยแผลต่างที่เกิดขึ้น จนถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด ในกรณีที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ ผลของการรักษาอาจไม่ทำให้กลับมาเป็นปกติหรือทำงานตามเดิมได้อีกแล้ว จึงนับเป็นการสูญเสียทรัพยากรของทั้งครอบครัวและสังคมส่วนรวม

รศ.พญ.วิไล
 ยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจุบันยังไม่มีหนทางในการรักษาโรคนี้ ทำได้เพียงแค่หยุดยั้งการสูญเสียมวลกระดูก และรักษาอาการกระดูกหักเท่านั้น วิธีการรักษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือการเสริม แคลเซียม การให้ฮอร์โมนทดแทน และการให้วิตามินดี เท่านั้น

“จากการศึกษาค้นคว้า พบว่าวิธีที่ดีสุด ก็คือ การเร่งสะสมมวลกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่วัยเด็ก โดยการกินอาหารให้ครบ 
หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะผักใบเขียวและนม ซึ่งเป็นสารอาหารที่ให้ แคลเซียม ดีที่สุด เด็กควรดื่มนมอย่างน้อยที่สุดวันละ 2 แก้ว หรือประมาณ 500 ซีซี จนถึงวัยหนุ่มสาว เพื่อเพิ่มมวลกระดูก โดยในกลุ่มเด็ก อายุ10-19 ปี รวมทั้งกลุ่มสตรีมีครรภ์ เป็นช่วงที่ต้องการ แคลเซียม มากกว่ากลุ่มอื่น ประมาณวันละ 1,200 มิลลิกรัม และในกลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 20 ปีไปจนถึง 60 ปีขึ้นไป จะต้องการ แคลเซียม 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนั้นควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หยุดสูบบุหรี่ ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชากาแฟ และน้ำอัดลม”

สรุปได้ว่าการได้รับ แคลเซียม ในปริมาณที่เหมาะสมเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะช่วยป้องกันมฤตยูเงียบอย่างโรคกระดูกพรุน ซึ่งคนส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกาย ว่าในแต่ละวันร่างกายเกิดการสร้างและทำลายมวลกระดูกอยู่ตลอดเวลา ตอนเยาว์วัยร่างกายจะสร้างมวลกระดูกมากกว่าทำลาย แต่เมื่ออายุยิ่งมากขึ้นเท่าไร การสร้างมวลกระดูกจะลดน้อยลง และเกิดการทำลายมวลกระดูกมากขึ้น 

แคลเซียม นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการป้องกันตัวจากโรคกระดูกพรุน พึงระลึกเสมอว่า แคลเซียม จำเป็นสำหรับทุกวัย และควรรับประทานทุกวัน การสะสม แคลเซียม ตั้งแต่วัยเด็กจะทำให้มี แคลเซียม สะสมไว้ใช้ในยามสูงอายุ เปรียบเสมือนตัวเราเป็นดั่งธนาคาร แคลเซียม ต้องรีบสะสมไว้ให้มากพอ  เพราะหากคิดมารับประทาน แคลเซียม เอาเมื่อสูงวัยแล้ว อาจจะสายเกินไป และ แคลเซียม จะมีประสิทธิภาพต่อร่างกายมากขึ้น หากรับประทานร่วมกับวิตามินดี ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้ร่างกายดูดซึม แคลเซียม ได้ดี

นอกจากนี้ หากร่างกายไม่สามารถรับ แคลเซียม ได้เพียงพอจากอาหาร ยังสามารถเลือกรับประทาน แคลเซียม ที่ปัจจุบันมีทั้งแบบเม็ด และแบบเหลว ซึ่งประเภทหลังนี้จะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่า โดยมากมักจะมีวิตามินดีและธาตุอาหารที่จำเป็นต่อกระดูกผสมอยู่ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับทุกเพศทุกวัย

รศ.พญ.วิไล
 กล่าวด้วยว่า การรับประทาน แคลเซียม ในรูปยามากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง ไม่คลายตัว อาจเป็นอันตรายต่อหัวใจ หรืออาจจะเกิดปัญหากระดูกงอกตามข้อ เป็นต้น แต่สำหรับคนไทยในปัจจุบัน ปัญหาการได้รับ แคลเซียม ไม่เพียงพอ มีปริมาณมากกว่ากรณีรับประทาน แคลเซียม มากเกิน การเลือกรับประทาน แคลเซียม เสริมจึงต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยของร่างกาย ควรเลือกผลิตภัณฑ์ หรืออาหารที่มาจากธรรมชาติดีที่สุด 

เพราะฉะนั้น ป้องกันตัวเองเสียแต่วันนี้ เพราะการรักษาโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุด..อยู่ที่การป้องกันนั่นเอง... ควรดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เยาว์วัย เพราะการปล่อยให้เกิดปัญหากระดูกหัก จากภาวะกระดูกพรุน จะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมาก
 อีกทั้งยังเป็นภาระต่อคนในครอบครัว และภาระทางสังคม   ที่ใครๆ ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตนเอง

ดังนั้นเราจึงควรหันมาเปิดธนาคาร แคลเซียม ในตัวเราทุกวันกันดีกว่า...


อ้างอิงข้อมูลจาก บริษัท
อังกฤษตรางู (แอล.พี.) จำกัด